เมนู

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นภูมิบาล จึงตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา
ขุนเขาพระสิเนรุราชไม่กลัวไม่สะดุ้งตกใจนั้น ก็เพราะขุนเขาพระสิเนรุราชนั้นจะมีเหตุให้รู้กลัว
รู้สะดุ้งอย่างใดอย่างหนึ่งหามิได้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ ขุนเขาพระสิเนรุราช
ไม่กลัวไม่สะดุ้ง ด้วยไม่มีเหตุจะให้สะดุ้งนั้น มีครุวนาฉันใด เอวเมว โข พระอรหันต์ขีณาสพเจ้า
ทั้งหลาย ก็ไม่กลังไม่สะดุ้ง ด้วยไม่มีเหตุที่จะให้กลัวให้สะดุ้งฉันนั้น
มหาราช ขอถวายพระพร ถ้าว่ามหาชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งในหมื่นโลกธาตุนี้
มีมือถือหอกอันคมกล้าทุกตัวคน เอกํ อรหนฺตํ ปริวเรตฺวา พึงพากันไปแวดล้อมพระอรหันต์
องค์หนึ่ง ทำเป็นดังว่าทิ่มแทงให้ถึงแก่ชีวิตอันตราย ด้วยอาการดุร้ายน่าพึงกลัง ก็ไม่สามารถจะ
ทำให้พระอรหันต์องค์หนึ่งนั้นสะดุ้งตกใจได้ แม้ความหวาดหวั่นแห่งจิตของท่านสักหนหนึ่งก็
ไม่มี เพราะท่านเป็นผู้ไกลแล้วจากเหตุแห่งความกลัว ไม่มีเหตุอะไรจะมาทำให้ท่านกลัวได้เลย
มหาราช ขอถวายพระพร ประการหนึ่ง พระอรหันต์ 500 นั้น เมื่อช้างธนบาลวิ่งมา
จึงดำริพร้อมกันฉะนี้ว่า อาตมาจะตามเสด็จพระพุทธดำเนินอยู่ไม่ชอบกล คุณของพระอานนท์
ผู้เป็นปุถุชนจักไม่ปรากฏแต่ประชาชนทั้งหลาย พระอานนท์เป็นพุทธอุปฐาก มีความรักใคร่ใน
สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้า ถึงกับสู้เสียชีวิตแทนพระองค์ได้ แม้เป็นปุถุชนอยู่ก็ไม่ครั่น
คร้ามต่อความตายเสียดายชีวิต อุตสาหะตั้งจิตบริจาคถวายสมเด็จพระจอมไตรโลกนาถเจ้า
พระอรหันต์ทั้งหลาย 500 นั้นมีความประสงค์จะประกาศคุณของพระอานนท์ให้ปรากฏดังนี้
จึงทำเป็นกลัววิ่งหนีช้างธนบาลไป แต่ที่จริงใจของท่านจะได้พรั่นพรึงสักหน่อยหนึ่ง ก็หามิได้
ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีได้สวนาการ ก็สิ้นสงสัย ทรงสาธุการชื่นชมปรีชา
ญาณของพระนาคเสนผู้เฉลิมปราชญ์ ก็มีในกาลครั้นนั้น
ขีณาสวานัง อภายนปัญหา คำรบ 7 จบเพียงนี้

สันถวปัญหา ที่ 8


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ผู้เป็นปิ่นประชาเฉลิมราช จึงตรัสถามพระนาคเสนผู้ฉลาดสืบไปว่า
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าผู้ปรีชาญาณ สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์

มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุทั้งหลาย ภยํ อันว่าภัยจะมีแก่ท่านทั้งหลายเหตุอาศัย
สันถวะ คือความรักใคร่เชยชม ละอองธุลีซึ่งได้แก่ราคะ โทสะ โมหะ ย่อมเกิดแต่ความห่วงใย
ในที่อยู่ ความเป็นผู้ไม่ห่วงใยที่อยู่และความไม่มีสันถวะ 2 อย่างนี้เป็นธรรมชาติอันพระมหา
มุนีบรมสุคตเจ้าทั้งหลายได้เห็นแล้วโดยแท้จริง แล้วกลับมีพระพุทธฎีกาตรัสดังนี้ว่า ภิกฺขเว ดู
รานะภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้เป็นบัณฑิตควรสร้างวิหาร อันเป็นที่รื่นรมย์สำราญให้ภิกษุผู้เป็น
พหูสูตอยู่อันดังนี้ เป็นการแย้งกันอยู่น่าสงสัย พระผู้เป็นเจ้าจงโปรดวิสัชนาให้เข้าใจในกาลบัดนี้
พระนาคเสนผู้ปรีชาเฉลิมปราชญ์ จึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราช-
สมภารผู้ประเสริฐ สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์เจ้า มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ภัยเกิด
เพราะอาศัยสันถวะ ละอองธุลี คือราคะ โทสะ โมหะ เกิดแต่ความห่วงใยที่อยู่ และตรัสให้สร้าง
วิหารถวายภิกษุพหูสูตนี้จริงมิผิดเพี้ยน แต่ที่มีพระพุทธฎีกาตรัสไว้ฉะนี้ ด้วยสามารถบัญญัติ
เป็นสารูป สมควรแก่สมณะ อันธรรมดาพระโยคาวจรผู้วิเศษแล้วย่อมจะเป็นผู้ไม่ห่วงใยใน
ที่อยู่ อุปมาดุจมฤคชาติเนื้อทั้งหลาย อันสถิตอยู่ในไพรสณฑ์ประเทศราวป่า เป็นผู้ไม่มีอาลัย
และไม่ห่วงใยที่อยู่ จะอยู่ในประเทศที่นั้นประจำอยู่มั่งคง เป็นหลักแหล่งเดียวดังนี้หามิได้ ยถา
มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ห่วงใยในที่อยู่มีอุปไมยฉันนั้น แต่ที่พระพุทธฎีกาให้สร้าง
วิหารถวายให้ภิกษุที่เป็นพหูสูตอยู่นั้น พระองค์ทรงเห็นอำนาจประโยชน์อันเป็นผลานิสงส์ 2
ประการ คือจะให้สำเร็จแก่พระนิพพานดับชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์เป็น
เอกันตบรมสุขประการ 1 คือบุคคลผู้มีศรัทธาสร้างวิหารที่อยู่ลงไว้ในประเทศที่ใด ที่นั้นก็
เป็นที่อันพระภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย ได้พักอาศัยอยู่ ผู้ที่มีความประสงค์จะได้พบได้เห็น ก็จะ
ได้พบได้เห็นได้โดยง่าย ถ้าท่านไม่มีวิหารเป็นที่พักเป็นผู้ไม่มีห่วงใยในที่อยู่เที่ยวจาริกไป หาที่
อยู่เป็นหลักแหล่งมิได้ ก็ยากที่สาธุชนจะได้พบได้เห็นท่านประการ 1 สิริเป็นอานิสงส์ 2
ประการด้วยกันฉะนี้ การสร้างวิหารย่อยมีคณานิสงส์ 2 ประการ ด้วยประการดังนี้ เหตุดังนั้น
สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสอนุญาตให้กระทำวิหารให้เป็นทาน
แก่ภิกษุทั้งหลายอันเป็นพหูสูต ทรงพระไตรปิฎก ขอถวายพระพร*
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร ก็ชื่นชมยินดีสาธุการแก่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ
ในกาลบัดนี้
สันถวปัญหา คำรบ 8 จบเพียงนี้
* ปัญหานี้ใจความที่แก้เหมือนกันเป็นรูปเดียวกับอนิเกตานาลยกรณปัญหาที่ 6 ในจตุตถวรรค ต่างกันแต่
เพียงความประสงค์แห่งคำถามเท่านั้น เห็นว่ามีส่วนต่างกันอยู่บ้าง จึงคงปล่อยไว้ ไม่ตัดออก ทั้งตัวบาลีก็
มีด้วยเหมือนกัน ต่างกันบ้าเล็กน้อย

ภควโต อัปปาพาธปัญหา ที่ 9


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการ ตรัสถามอรรถเป็นปริศนาสืบไปเล่าว่า
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ มีพระ
พุทธฎีกาตรัสว่า ตถาคตนี้ พฺราหฺมโณ เป็นพราหมณ์ ยาจโยโค ผู้ควรซึ่งยาจกจะพึงขอ ปยต-
ปาณี
ล้างมือไว้คอยท่าจะให้ทาน อนฺติมเทหธโร ทรงไว้ซึ่งกายอันเป็นที่สุดชาติเดียว อนุตฺตโร
เป็นผู้ยิ่งหาสิ่งเปรียบมิได้ ภึสโก เป็นหมอรักษาไข้ทั้งปวง นี่แหละ พระองค์ตรัสยกยอพระ
องค์ว่าประเสริฐกว่าสรรพสัตว์สิ่งทั้งปวง พระพุทธองค์เจ้าตรัสฉะนี้แล้วกลับมีพระพุทธฎีกา
ตรัสสรรเสริญยกย่องพระพากุลเถระในตำแหน่งเอตทัคคะว่า พระพากุลภิกษุนี้ มีอาพาธน้อย
ประเสริฐกว่าภิกษุทั้งหลายบรรดาที่เป็นสาวกของพระองค์ ดังนี้ และพระผู้ทรงพระภาคก็
ได้ทรงประชวรเป็นหลายครั้ง เห็นปรากฏอยู่ โยมนี้สงสัยแคลงใจนัก ไม่รู้ว่าจะเชื่อคำไหน จะ
เชื่อคำต้น คำหลังจะก็ผิดไป ครั้นจะเชื่อคำหลังไซร้ คำต้นก็จะผิด โยมคิด ๆ ดูก็หารู้ที่จะกำหนด
ไม่ ไฉนพระพุทธฎีกาจึงเป็นสองไม่ต้องกัน อยํ ปญฺโห ปริศนานี้ อุภโต โกฏิโก มีที่สุดเป็นสอง
เงื่อน ตฺวานุปฺปตฺโต มาถึงพระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าจงวิสัชนาให้โยมแจ้งก่อน
เถโร อาห พระนาคเสนผู้ทรงอริยสังวรจึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตร
พระราชสมภารผู้ประเสริฐ พระอสีติมหาสาวกทั้งหลาย 80 รูปมีคุณวิเศษต่างๆ กัน สมเด็จ
พระสัพพัญญูบรมครูเจ้าก็ยกเป็นเอตทัคคะ ตามคุณวิเศษต่าง ๆ กัน ใช่ว่าพระองค์เจ้าจะยกย่อง
พระพากุลเถระว่า พระพากุลเถระนี้เป็น อนุตฺตโร ไม่มีผู้อื่นจะยิ่งกว่าหรือเสมอเหมือนพระ
องค์ก็หามิได้
ซึ่งสมเด็จพระองค์เจ้าตรัสว่า พฺราหฺมโณ พระองค์เป็นพราหมณ์นั้น ด้วยพระองค์ทรง
เที่ยวบิณฑบาตโปรดสัตว์โลกทั้งปวง ดุจพราหมณ์ยาจกอันเข้าทุกตรอกออกทุกบ้าน เที่ยวขอ
ทานเลี้ยงชีวิต ประการหนึ่ง สมเด็จพระพิชิตมารตรัสว่า ภึสโก พระองค์เหมือนหมอยารักษาไข้
นั้น ด้วยฝูงสรรพสัตว์ทั้งปวงประกอบด้วยทุกข์ 4 กอง คือชาติที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดานี้
ลำบากเหมือนหนึ่งว่าตกนรก จะหาสุขสักหน่อยให้มีความสบายเท่าปลายเข็มนั้นก็ไม่ได้ จึงจัด
ว่าเป็นทุกข์กองใหญ่ประการ 1 ชราทุกข์นั้นเกิดมาแล้ว เมื่อจำเริญวัยก็ดูผ่องใสโสภา ครั้น
แล้วก็ชราภาพมีกายสั่นระเทิมเทา มีเกสาขาว ขณฺฑนฺตา ฟันก็หลุดหล่นไป อาหารที่เคย
เคี้ยวได้นั้นก็เคี้ยวไม่ได้ เสื่อมรสไป จะพูดจาเขฬะก็ไหลออกปาก ขณะเมื่อนอนนั้นก็ดี มีน้ำ
เขฬะไหลเหตุหาฟันจะกันมิได้ เนื้อหนังเหี่ยวแห้งไป เท้ามือไม่เป็นใหญ่ง่อนแง่นนักหนา ทณฺฑ-
ปรายโน
ถือไม่เท้าจดจ้องไปข้างหน้า ถึงซึ่งสภาวะเป็นที่เกลียดชังยิ่งนัก จะว่าไปนักจะยาวความ
เหตุฉะนี้แหละจึงชื่อว่าชราทุกข์ เป็นทุกข์ใหญ่กอง 1 พยาธิทุกข์นั้น คือฉันนวุติกโรค 96